ตู้Form3a

 Form ของตู้ไฟฟ้า แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร? (Typical Form Separation)

ความหมายของ Form ตู้สวิทซ์บอร์ดไฟฟ้าคือ คุณลักษณะหรือรูปแบบการแบ่งกั้นแยกส่วนที่มีไฟฟ้า (Live Part) หรือส่วนที่เป็นอันตราย โดยใช้ Partitions กั้นแยกระหว่างอุปกรณ์หลักภายในตู้ไฟ โดยจะพิจารณาการแบ่งแยกช่องการติดตั้ง ของอุปกรณ์ไฟฟ้าหลักในตู้ไฟ กับบัสบาร์ ขั้วต่อสาย รวมถึงหัวรับสายไฟในตู้ไฟ เดียวกัน  ซึ่งForm ตู้ ใช้อิงจากมาตรฐาน IEC61439-2

ประโยชน์ ของการแบ่งกั้น Form ตู้คือ การลดโอกาศการเกิดความผิดปกติ (Fault)  อีกทั้งยังเป็นการจำกัดขอบเขต (Limit Fault) และลด ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามไปยังช่องอื่นๆหรือ ส่วนอื่นภายในตู้ไฟฟ้า

 องค์ประกอบที่ใช้ในการแยกส่วนภายในตู้คือ 1. บัสบาร์ (Busbar)  2. อุปกรณ์หลัก (Device)  3. ขั้วต่อสาย (Terminal)  4. ตัวแบ่งกั้นในตู้ไฟ (Partition)

รูปแบบ Form ของ ตู้สวิทซ์บอร์ด แบ่งหลักๆได้ 7 ประเภท คือ
1) Form 1
2) Form 2a
3) Form 2b
4) Form 3a
5) Form 3b
6) Form 4a
7) Form 4b

ประเภท ของForm ตู้ไฟ   

Form 1
- ภายในตู้สวิตซ์บอร์ดจะไม่มีการกั้นช่องแบ่งแยกบัสบาร์ออกจากอุปกรณ์และขั่วต่อสายตัวนำภายนอกออกจากัน (คือในตู้ไม่มีส่วนกั้นเลย เปิดโปร่งถึงกันทุกส่วน)
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายทั้งหมด
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

------------------------------------------------------

Form 2a
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- แต่สำหรับขั้วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) จะอยู่ภายในช่องเดียวกันกับบัสบาร์
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด และเริ่มนำมาประยุกต์ใช้เป็นตู้ Main DB ย่อย
- เหมาะกับงานอาคารที่มีโหลดไม่มากนัก ยอมรับได้ที่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบางส่วน เช่น บัสบาร์กับขั่วต่อสาย, อุปกรณ์ย่อย
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

------------------------------------------------------

Form 2b
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit) และขั้วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor)
- แต่อุปกรณ์และขั่วต่อสายจะอยู่ภายในช่องเดียวกันโดยไม่มีการแบ่งกั้น
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด และเริ่มนำมาประยุกต์ใช้เป็นตู้ Main MDB
- เหมาะกับงานอาคารที่มีโหลดไม่มากนัก ยอมรับได้ที่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบางส่วน เช่น บัสบาร์กับขั่วต่อสาย, อุปกรณ์ย่อยในช่องเดียวกัน
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
- แต่มีความปลอดภัยสูงขึ้นกว่า Form 2a

------------------------------------------------------

Form 3a
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่จะอยู่ภายในช่องเดียวกัยกับบัสบาร์
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดแบบต่อเนื่อง
- เหมาะกับงานอาคาร โรงงาน ที่มีโหลดมาก
- ไม่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบ้างส่วนเท่านั้น
- ใช้เวลาในการซ่อมน้อยหรืออาจจะไม่ต้องเปลี่ยน เพียงตรวจสอบแก้ไขก็สามารถจ่ายไฟได้ตามปกติ

------------------------------------------------------

Form 3b
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์และอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ขั่วต่อสายดังกล่าวจะอยู่ภายในช่องเดียวกัน
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดแบบต่อเนื่อง
- เหมาะกับงานอาคาร โรงงาน โรงไฟฟ้า อุตสหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และอื่นๆ ที่มีโหลดมาก
- ไม่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบ้างส่วนเท่านั้น
- ใช้เวลาในการซ่อมน้อยหรืออาจจะไม่ต้องเปลี่ยน เพียงตรวจสอบแก้ไขก็สามารถจ่ายไฟได้ตามปกติ

------------------------------------------------------

Form 4a
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์ แต่ขั่วต่อสายดังกล่าวจะอยู่ภายในช่องเดียวกันอุปกรณ์
- มี Partition แยกระหว่างอุปกรณ์ออกจากบัสบาร์
- มี Partition แยกส่วนสำหรับตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) แต่ละชุดออกจากัน

------------------------------------------------------

Form 4b
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition แยกระหว่างอุปกรณ์ออกจากบัสบาร์
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์ และอุปกรณ์ (Outgoing unit) และแยก Feeder ออกจากกันอย่างชัดเจน

 การเลือกใช้งาน Form ของตู้ไฟ ควรคำนึงถึงปัจจัยดังนี้

1. ระดับความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งยิ่งเป็น Formที่สูงจะมีการแบ่งกั้น Partition ที่มากขึ้นทำให้เมื่อเกิดความผิดปกติ (Fault)  จะมีส่วนช่วยยับยั้ง และจำกัดขอบเขต (Limit Fault)  หรือ ลด ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามไปยัง ส่วนอื่นภายในตู้สวิทซ์บอร์ด

2.เรื่องความร้อนภายในตู้ไฟ ยิ่งตู้ที่มีการแบ่งกั้น Partition มากก็จะยิ่งมีโอกาศที่ความร้อนจะสะสมภายในตุ้ไฟ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ภายในตู้ ดังนั้นการออกแบบตู้ไฟที่มี Partition กั้นควรแบบให้ภายในตู้สามารถระบายอากาศได้ทั่วถึงโดย เจาะช่องระบายอากาศ (Grill) ตามฝาตู้ และ ติดพัดลมระบายอากาศช่วย

3.งบประมาณ ตู้สวิทซ์บอร์ดที่มีการแบ่งกั้น Partition จะมีราคาสูงกว่า ตู้Form1 ที่ไม่ได้มีการกั้น Partition และยิ่งมีการแบ่งกั้นเยอะ ก็จะทำให้การออกแบบ และผลิตตู้มีความยากซับซ้อน และใช้วัสดุมากขึ้น จึงส่งผลต่อราคาตู้ไที่จะสูงขึ้นตาม ดังนั้นควรออกแบบ และเลือกใช้ Form ตู้ไฟให้อยู่ในงบประมาณที่เหมาะสม

(ที่มา https://www.facebook.com/ElectricalRm/posts/3408488355831207/ )