UPVCหรือไวนิล กับ PVC ต่างกันอย่างไร??

       PVC หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ PVCโฟม ซึ่งจะเป็นที่ชื่อที่ต่างประเทศนิยมใช้เรียกกันอย่างกว้างขวาง โดยชื่อของPVCนี้จะมีความใกล้เคียงกับUPVCหรือไวนิลมาก ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ตรงที่จะมีสารปรุงแต่งที่ใส่เพิ่มขึ้นในPVC  ซึ่งสารประกอบนี้ มีชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า พลาสติไซเซอร์ (plasticizers) เป็นสารที่ใส่ในโพลิเมอร์ (polymer) หรือผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อลดจุดหลอมที่ทำให้เกิดการไหล (flexing temperature) ของพลาสติกทำให้เม็ดพลาสติกมีความยืดหยุ่นและอ่อนนุ่มขึ้น  สะดวกต่อการดึง รีด ฉาบ หรือหล่อแบบ  และยังเป็นตัวรักษาความอ่อนนุ่มไม่ให้เสียไปโดยง่าย  อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าทนต่อกรดด่าง น้ำมันและผงซักฟอก  โดยจะใส่ประมาณ 20-40% โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นสารชนิดที่ใส่เพื่อให้ค่าการอ่อนตัวที่มากขึ้น แต่ก็ทำให้ค่าความคงทนต่อแดด รังสียูวี และความร้อนลดลงมากในผลิตภัณฑ์PVC

        uPVC (Unplasticized Polyvinyl Chloride) ในต่างประเทศมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีหลายประเภท อุณหภูมิสูงสุดในการใช้งานของท่ออยู่ที่ +60 องศาเซลเซียส

        ท่อ uPVC สีเหลือง ตรา พี.อาร์.ไอ.ผลิตภัณฑ์  มีความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 4 เมตร   ผ่านการทดสอบ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก.216-2524 โดย กรมวิทยาศาสตร์การบริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี


ท่อ UPVC คือ อะไร

       ท่อ UPVC คือ ท่อ PVC สีขาว ที่มีการเติมสารป้องกันแสง UV แม้ลักษณะภายนอกท่อยูพีวีซี จะเหมือนกับท่อ PVC ทั่วไป แต่ท่อ uPVC เป็นพีวีซีแข็ง (Rigid PVC) และมีสีขาว ใช้สำหรับงานท่อร้อยสายไฟฟ้า และสายโทรศัพท์ ผลิตจากวัสดุ uPVC (Unplasticized Polyvinyl Chloride)

 ประโยชน์ของท่อ UPVC

       ท่อ UPVC หรือ ท่อ PVC สีขาว ใช้สำหรับงานท่อร้อยสายไฟฟ้า และสายโทรศัพท์  สามารถดัดเย็นโค้งงอได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อน มีปริมาณสารเติมแต่งที่เหมาะสม ช่วยให้มีคุณสมบัติพิเศษทนทานต่อแสงแดดป้องกันรังสี UV  ไม่ลามไฟ

  1. สามารถทนต่อแสงแดด ป้องกันรังสี UV และสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิปกติจนสูงถึง 60 องศาเซลเซียส
  2. มีคุณสมบัติยืดหยุ่น สามารถดัดเย็นท่อได้มากกว่า 90 องศา โดยไม่ต้องใช้ความร้อน
  3. ไม่ลามไฟ

 

       ท่อ UPVC สีขาว  ของ PRI  มีความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 2.92 เมตร  ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน BS EN 50086-2-1 จากกรมวิทยาศาสตร์การบริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

 

ข้อกำหนดในการใช้ท่อร้อยสายไฟ  uPVC 

ตามมาตราฐานการติดตั้งฯ ของ วสท. บทที่ 9 เรื่องอาคารชุด อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในข้อกำหนด ข้อ 9.2.2 วิธีการเดินสาย

" ให้ใช้กำหนดการเดินสายในบทที่ 5 สำหรับสายที่เดินภายในอาคาร ห้ามใช้วิธีเดินสายบนผิว เดินเปิดหรือเดินลอยบนวัสดุฉนวน ในช่องเดินสายอโลหะ และในรางเคเบิล " (ยกเว้นโรงงานอุตสหกรรม)

แปลว่า ไม่อนุญาตให้ใช้ท่ออโลหะ (หรือท่อ uPVC)ภายในอาคารชุด (ตามนิยามอาคารชุด ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522) ที่เข้าเกณฑ์เป็นอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ แต่อาคารชุดทั่วไปสามารถใช้ได้

 (ที่มา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม)